1. ลองวางกล้องไว้กับพื้นที่ ที่มันมั่นคง
บางสถานที่เขาไม่ได้ให้เราตั้งขาตั้ง เราอาจจะเลือกวางกล้องกับพื้นที่ ที่มันรับน้ำหนักกล้องได้ดี และผิวเรียบ อาจจะเป็นขอบกำแพง ผนัง เพื่อให้สิ่งเหล่านั้นประคองกล้องได้อย่างมั่นคง และนิ่งนั่นเอง (ให้ความสามารถเหมือนขาตั้ง) ซึ่งแม้ว่าจังหวะการถ่ายภาพอาจจะไม่ได้ดีเหมือนการใช้ขาตั้ง แต่ช่วยได้แน่นอนครับ
2. เพิ่มความเร็วชัตเตอร์ให้มากขึ้นเพื่อหยุดภาพ และมากพอสำหรับการถือถ่ายด้วยมือเปล่า
ความเร็วชัตเตอร์ที่ต่ำ ๆ บ่อยครั้งจะหยุดภาพวัตถุที่เคลื่อนไหวได้ไม่ทัน นอกจากนี้บางครั้งชัตเตอร์เราอาจจะไม่พอสำหรับมือของเราที่อาจจะสั่นด้วย ดังนั้นความเร็วชัตเตอร์จะเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้ภาพของเราหยุดนิ่งได้เวลาที่ถ่าย
3. ถ่ายรัวหน่อย หรือย้ำหน่อยก็ได้
การถ่ายภาพที่รัวหน่อยหรือย้ำหน่อยจะช่วยเพิ่มจังหวะในการถ่ายภาพของตอนนั้นได้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้เรามีโอกาสได้ภาพเพิ่มมากขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันนั่นเอง สังเกตว่าการถ่ายภาพงานอีเวนต์ หรือกิจกรรมอะไรที่ซีเรียส ๆ หน่อย ก็มักจะมีการถ่ายซ้ำ ๆ หลายช็อตในจังหวะเดียวเพื่อเพิ่มโอกาสในการได้ภาพที่มากขึ้นครับ
ในกรณีที่เราไม่ได้ถ่ายภาพด้วยการใช้ขาตั้งกล้อง แต่เป็นการถือถ่ายภาพตามปกติ ให้เราเปิดระบบกันสั่นที่ตัวบอดี้กล้องและเลนส์ไว้ด้วย เพราะมันช่วยทำให้ได้ภาพนิ่งมาก ๆ ครับ
4. เมื่อไม่ได้ใช้ขาตั้งให้เปิดกันสั่นกล้องและเลนส์ไว้ด้วย
ในกรณีที่เราไม่ได้ถ่ายภาพด้วยการใช้ขาตั้งกล้อง แต่เป็นการถือถ่ายภาพตามปกติ ให้เราเปิดระบบกันสั่นที่ตัวบอดี้กล้องและเลนส์ไว้ด้วย เพราะมันช่วยทำให้ได้ภาพนิ่งมาก ๆ ครับ
5. ตอนถ่ายรูป ยืนให้มั่น ประคองกล้องให้นิ่ง ถ้าเหนื่อยมากมือสั่น อาจจะพิงกำแพงหรือนั่งก็ได้
เหมือนเทคนิคนี้ดูเหมือนจะไม่มีอะไร แต่แนะนำว่ามันก็ส่งผลเหมือนกัน บางครั้งร่างกายเราอาจจะเหนื่อย หรืออาจจะแบกกระเป๋าหนัก ๆ อยู่ มันทำให้แรงที่เราส่งออกมาสะเทือนถึงตัวกล้องได้ แนะนำว่ายืนถ่ายภาพให้มั่นคงหรือบางทีในพื้นที่แสงน้อยมาก ๆ ต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำกว่าปกติโดยไม่มีขาตั้ง อาจจะเอาตัวเองพิงกำแพงเพื่อให้กล้องนิ่งขึ้นก็ได้ครับ