1.ถ่ายภาพจากมุมบนให้ได้ทรงเลขาคณิต ชักจูงสายตาด้วยกรอบของภาชนะ
เทคนิคนี้สามารถนำไปปรับใช้กับการถ่ายรูปสิ่งของแบบอื่นได้อีกมาก แต่ถ้านำมาใช้กับการถ่ายอาหารจะทำให้อาหารเป็นที่น่าสนใจแบบภาพรวมหรือก็คือมันจะดึงสายตาของผู้ได้เห็นให้เข้าไปอยู่ตรงส่วนกลางของอาหารจานนั้น
ลักษณะการถ่ายจะเน้นไปที่มุมจากด้านบนให้ภาชนะที่ใส่อาหารเหล่านั้นออกมาเป็นรูปทรงเลขาคณิตเพียงมิติเดียว หากมีการเคลื่อนของมุมกล้องที่ทำให้รูปทรงผิดเพี้ยนไปแม้นิดเดียวจะทำให้ความสนใจของผู้ได้เห็นหลุดออกไปจากอาหารที่อยู่ในจานไม่มากก็น้อย ขึ้นอยู่กับลักษณะพฤติกรรมการมองของแต่ละคน
ผลลัพธ์เมื่อถ่ายออกมาได้เป็นรูปทรงเลขสคณิตตามลักษณะภาชนะ จะเป็นการตีกรอบในส่วนของอาหารราวกับมีภาชนะเป็นกรอบรูป พฤติกรรมการมองของมนุษย์มักจะมองจากส่วนกลางที่มีกรอบจำกัดสายตาเป็นอย่างแรก นี่จึงทำให้การออกแบบให้ภาพออกมาเป็นมิติเดียวเป็นเทคนิคสำคัญในการดึงดูดสายตาของผู้คนให้มองไปที่อาหาร
2.ใช้พฤติกรรมของมนุษย์เพิ่มความน่าสนใจให้กับอาหาร
นอกจากความน่าทานของอาหารแล้ว พฤติกรรมต่างๆ ของมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมกจากการเคลื่อนไหวของอวัยวะต่างๆ ไปจนถึงกระบวนการกินที่ต้องมีอวัยวะเหล่านั้นรวมอยู่ด้วย ย่อมเป็นเทคนิคสำคัญในการทำให้รูปภาพอาหารมีความน่าสนใจมากขึ้น
ลองจินตนาการดูว่าพฤติกรรมการกินปกติอาทิเช่น การดื่มกาแฟ, การตักอาหารเข้าปาก ฯลฯ หากเราสามารถถ่ายรูปที่มีอวัยวะที่ใช้ในการกินรวมอยู่ด้วยเช่น มือที่กำลังจับแก้วกาแฟ, การราดน้ำซอสบางอย่างของอาหารแต่ละชนิด ฯลฯ สิ่งเหล่านี้เป็นพฤติกรรมที่สามารถดึงดูดความน่าสนใจของรูปภาพนั้นได้อย่างดี เพราะจะดึงประสบการณ์ร่วมของการทานอาหารด้วยพฤติกรรมเหล่านั้น และจะกระตุ้นส่วนของความทรงจำทางพฤติกรรมให้มีความอยากอาหารจากพฤติกรรมที่ได้ดู
3.การใช้ทิศทางแสงเพื่อชูรายละเอียดของอาหาร
การจัดทิศทางหรืออุณหภูมิของแสงเป็นพื้นฐานของพื้นฐานในการถ่ายรูปอยู่แล้ว หากเพียงเมื่อนำเทคนิคนี้มาถ่ายอาหาร จึงจะต้องมีการดัดแปลงเล็กน้อยเพื่อให้เข้ากับรูปแบบการถ่าย อีกทั้งยังเป็นเรื่องของการจัดองค์ประกอบให้เหมาะสมอีกด้วย
หลักสำคัญคือการจัดทิศทางแสงให้ส่องไปรวมอยู่ที่อาหารหรือก็คือหาจุดที่แสงไปรวมตัวอยู่แล้วนำอาหารเหล่านั้นไปวางไว้ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจะทำให้จุดที่แสงไปรวมตัวช่วยส่องรายละเอียดของอาหารจานนั้น และในส่วนมืดของภาพก็จะทำให้ดึงความสนใจของสายตาไปที่อาหารจานนั้นอีกด้วย
4.เลือกพื้นหลังให้คลีนที่สุด
พื้นหลังเป็นสิ่งสำคัญมากในการทำให้อาหารดูโดดเด่นหากพื้นหลังที่ใช้ มีสีหรือลวดลายที่เด่นกว่าอาหารจานนั้นก็คงไม่ใช่เรื่องดีแน่ๆ
การเลือกพื้นหลังมีหลักง่ายๆ ก็คือต้องใช้สีที่มีความคลีน ไม่ว่าจะเป็นโทนสว่างหรือมืดก็ขึ้นอยู่กับสีของอาหารจานนั้นว่ามีโทนสว่างหรือมืดมากกว่า หากมืดก็ใช้โทนสว่าง หากสว่างก็ควรใช้โทนมืด เพียงเท่านี้ก็จะไม่มีพื้นหลังแบบไหนที่แย่งความเด่นของอาหารไปได้
แต่ถ้าในกรณีที่หาพื้นหลังคลีนๆ ไม่ได้ เราสามารถแก้ไขได้ด้วยการเลือกพื้นหลังที่มีสีโทนเดียวกับอาหารให้ได้มากที่สุด หรือถ้ามีลวดลายที่มากเกินไปก็ต้องไปแก้ไขด้วยการวางทิศทางของลวดลายนั้นๆ ให้มีลักษณะไปในทางเดียวกับการวางอาหารบนจานได้ด้วยเช่นกัน เพียงเท่านี้ก็สามารถลดความโดดเด่นของพื้นหลังได้พอสมควร
5.แต่งรูปด้วยโทนสีตรงข้ามกับสีอาหาร
ขั้นตอนสุดท้ายที่จะสามารถเพิ่มความน่าสนใจให้กับอาหาร ก็คือการปรับโทนภาพด้วยโปรแกรมแต่งรูป เพราะเราสามารถเลือกสีในภาพให้เป็นไปตามที่เราต้องการและที่สำคัญจะต้องเป็นสีที่ส่งเสริมให้อาหารดูน่ากินขึ้นอีกด้วย
เทคนิคง่ายๆ คือการสังเกตสีของอาหารก่อน ว่าสีส่วนใหญ่ของอาหารจานนั้นอยู่ในโทนสีอะไร แล้วลองปรับโทนสีตรงข้ามของอาหารจานนั้น ความตรงข้ามกันของสีภาพที่ปรับ จะทำให้สีของอาหารจานนั้นที่เป็นจุดหนึ่งของภาพที่ดูโดดเด่นขึ้นมาทันที
หรืออีกเทคนิคหนึ่งในการแต่งโทนภาพโดยไม่ต้องสนใจโทนสีตรงข้ามเลยก็คือ ‘การปรับโทนภาพให้เข้ากับธีมของอาหาร’ ในแต่ละสถานที่มักจะมีโทนภาพประจำที่เป็นเอกลักษณะเฉพาะตัว ในส่วนของอาหารก็เช่นกัน อาทิเช่น อาหารญี่ปุ่น เราก็สามารถแต่งรูปให้มีสีที่ซีดๆ ปรับอุณภูมิแสงให้เย็นๆ เพื่อให้อาหารจานนั้นอยู่ในโทนภาพแบบญี่ปุ่นๆ หรือจะปรับให้มีสีเข้มดูดุดันเพิ่มสีตรงข้ามที่ทำให้อาหารดูสดและมีสีจัดจ้านมากที่สุดก็ทำได้เช่นกัน เพียงเท่านี้ก็จะเพิ่มความน่าสนใจให้กับภาพเหล่านั้นได้เช่นกัน