1. ผ้าทนไฟและเสื้อคลายร้อน
Fireman with protective gear
ที่มาของภาพ,GETTY IMAGES
คำบรรยายภาพ,
ผ้าทนไฟที่นาซาพัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานในอวกาศ ขณะนี้นำมาใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก
เหตุไฟไหม้ที่ทำลายยานอะพอลโล 1 ในระหว่างปฏิบัติการฝึกซ้อมเมื่อปี 1967 ทำให้นักบินอวกาศที่อยู่ในยานเสียชีวิตไปถึง 3 ราย และทำให้โครงการอวกาศของสหรัฐฯต้องพบกับความปั่นป่วนไปพักใหญ่
ย้อนรอยโศกนาฏกรรมอพอลโล 1 : นักบินอวกาศทั้ง 3 เสียชีวิตบนโลกอย่างไร
นักบินอวกาศหญิงทุบสถิติชาวอเมริกันที่อยู่ในอวกาศนานที่สุด
ภารกิจสู่ห้วงอวกาศลึกอาจทำให้นักบินอวกาศถึงตายได้
แต่ถึงกระนั้นก็ตาม อุบัติเหตุดังกล่าวได้ทำให้นาซามีโอกาสพัฒนาผ้าทนไฟรุ่นใหม่ขึ้นมาใช้งาน รวมทั้งมีการคิดค้นเสื้อทำความเย็นขึ้นมาช่วยคลายความร้อนที่สะสมในตัวนักบินอวกาศขณะออกปฏิบัติงานนอกตัวยานอีกด้วย
ในภายหลังสิ่งประดิษฐ์ทั้งสองนี้ถูกนำมาใช้กับงานทั่วไปบนโลก เช่นเสื้อทำความเย็นสำหรับคนไข้โรคปลอกประสาทอักเสบในระบบประสาทส่วนกลาง (Multiple Sclerosis) ที่จะรู้สึกไวต่อความร้อนเป็นพิเศษ หรือแม้กระทั่งประยุกต์เป็นชุดทำความเย็นสำหรับสวมให้ม้าแข่ง
2. เครื่องกระตุ้นหัวใจขนาดจิ๋วแบบฝังติดตัว
Chest X-ray
ที่มาของภาพ,GETTY IMAGES
คำบรรยายภาพ,
ผู้ประดิษฐ์เครื่องกระตุ้นหัวใจแบบฝังใต้ผิวหนัง ได้แรงบันดาลใจจากเทคโนโลยีวงจรไฟฟ้าขนาดเล็กของนาซา
อุปกรณ์การแพทย์ขนาดเล็กสำหรับผู้ป่วยซึ่งมีการเต้นของหัวใจผิดปกติแบบเสี่ยงอันตรายตลอดเวลานั้น มีผู้คิดค้นขึ้นเป็นครั้งแรกและนำออกใช้งานในช่วงทศวรรษ 1980 หลังจากนาซาสามารถพัฒนาเทคโนโลยีวงจรไฟฟ้าขนาดจิ๋วให้ก้าวล้ำไปได้อีกขั้น
เครื่องกระตุ้นหัวใจแบบนี้ต่างจากอุปกรณ์ที่หน่วยกู้ภัยและหน่วยปฐมพยาบาลต่าง ๆ ใช้กันอยู่มาก เพราะมีขนาดเล็กจนสามารถผ่าตัดฝังไว้ใต้ผิวหนังของคนไข้ เพื่อคอยเฝ้าระวังจังหวะการเต้นของหัวใจได้ตลอดเวลา หากมีความผิดปกติเกิดขึ้น เครื่องก็จะปล่อยสัญญาณไฟฟ้าเพื่อแก้ไขในทันที
3. อาหารแห้งมื้อย่อส่วนพกสะดวก
Freeze-dried meal from the Apollo years
ที่มาของภาพ,GETTY IMAGES
คำบรรยายภาพ,
อาหารแห้งด้วยวิธีแช่เยือกแข็งสำหรับนักบินอวกาศ ถูกนำมาผลิตเพื่อการค้าโดยเปลี่ยนมาใช้บรรจุภัณฑ์ที่ดึงดูดใจมากขึ้น
เพื่อที่จะไปให้ถึงดวงจันทร์ ซึ่งต้องใช้เวลาเดินทางในอวกาศทั้งขาไปและขากลับรวม 13 วัน นาซาได้คิดหาหนทางที่จะประหยัดพื้นที่เก็บของและทำให้ยานอวกาศเบาที่สุดเท่าที่จะทำได้ จึงเป็นที่มาของการคิดค้นวิธีเก็บเสบียงอาหารโดยไม่ให้เน่าเสีย ทั้งมีขนาดเล็กพกสะดวกไม่เทอะทะหรือรับประทานได้ลำบาก
รำลึก 60 ปีส่ง ‘สปุตนิก’ สู่อวกาศ
เราจะเข้าครอบครองเป็นเจ้าของที่ดินบนดวงจันทร์ได้หรือไม่?
พอเพียงแบบนาซา เปลี่ยนปัสสาวะเป็นน้ำดื่ม
ทางออกสำหรับเรื่องนี้คืออาหารที่ทำแห้งด้วยวิธีแช่เยือกแข็ง (Freeze-drying) กระบวนการที่ว่านี้จะดึงน้ำออกจากอาหารสดที่เพิ่งปรุงสำเร็จในภาวะอุณหภูมิต่ำ หากต้องการรับประทานเมื่อใดก็เพียงเติมน้ำร้อนเข้าไปเท่านั้น
นอกจากอาหารแบบนี้จะดีต่อนักบินอวกาศแล้ว ยังเป็นที่นิยมในหมู่นักปีนเขาและคนที่ตั้งแคมป์ในป่ามาหลายชั่วรุ่นเพราะมีราคาถูก บางชนิดมีราคาเพียงห่อละ 4 ดอลลาร์ หรือ 123 บาทเท่านั้น
4. ผ้าห่มอวกาศช่วยชีวิตผู้ประสบภัย
Refugee girl wrapped in a space blanket in Greece
ที่มาของภาพ,GETTY IMAGES
คำบรรยายภาพ,
ผ้าห่มอวกาศมีความสำคัญในการใช้งานบนโลกเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรม
แผ่นกันความร้อนที่สะท้อนแสงดูแวววาว ซึ่งนาซาใช้ห่อหุ้มยานส่วนที่ลงจอดบนดวงจันทร์ในภารกิจอะพอลโลนั้น เดิมมีจุดประสงค์เพื่อใช้ป้องกันความร้อนจากดวงอาทิตย์ แต่ในเวลาต่อมา “ผ้าห่มอวกาศ” นี้ได้กลายมาเป็นอุปกรณ์ช่วยชีวิตอย่างหนึ่งที่จะขาดเสียมิได้ในงานกู้ภัยและให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรม
ผ้าห่มที่ดูเหมือนแผ่นฟอยล์โลหะทำมาจากพลาสติก แผ่นฟิล์ม และอะลูมิเนียม ปัจจุบันใช้เป็นผ้าห่มกักเก็บความร้อนซึ่งป้องกันไม่ให้นักกีฬาหรือผู้ประสบภัยสูญเสียความร้อนภายในร่างกายออกสู่สิ่งแวดล้อมภายนอก จนทำให้เกิดภาวะตัวเย็นหรืออุณหภูมิกายต่ำผิดปกติ (Hypothermia) ที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
ทุกวันนี้เราอาจได้เห็นผ้าห่มอวกาศสีเงินหรือสีทองแวววาวตามงานแข่งขันวิ่งมาราธอน รวมทั้งในโรงพยาบาลต่าง ๆ และตามภาพข่าวการช่วยเหลือผู้ประสบภัยบ่อยครั้ง
ติดตามข่าววิทยาศาสตร์ รวมทั้ง ข่าวดาราศาสตร์ และ ข่าวเกี่ยวกับอวกาศ ได้ทุกวัน ทางเว็บไซต์ bbcthai.com และเฟซบุ๊กของบีบีซีไทย